Hotline 083-411-9393
Friday , 24 January 2025
Home Lifestyle สสส. สานพลัง ภาคีเครือข่ายอำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม ขับเคลื่อนชุมชนล้อมรักษ์ (CBTx) ฟื้นฟูผู้บำบัดอย่างเป็นมิตรด้วย 6 หลักการ ใส่ใจครอบครัวล้อมรั้วชุมชน พ้นภัยยาเสพติดอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ต้นแบบชุมชนบ้านหัวชุก
Lifestyle

สสส. สานพลัง ภาคีเครือข่ายอำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม ขับเคลื่อนชุมชนล้อมรักษ์ (CBTx) ฟื้นฟูผู้บำบัดอย่างเป็นมิตรด้วย 6 หลักการ ใส่ใจครอบครัวล้อมรั้วชุมชน พ้นภัยยาเสพติดอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ต้นแบบชุมชนบ้านหัวชุก

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนัก1 (สสส.) ลงพื้นที่ถอดสูตรสำเร็จการดำเนินงานขับเคลื่อน “ชุมชนล้อมรักษ์” CBTx พร้อมถอดบทเรียน กลไกลการขับเคลื่อนชุมชนป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดในระดับพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยใช้ “พื้นที่เป็นฐาน ชุมชนเป็นศูนย์กลาง” พร้อมเปิดวงเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวชุมชนบ้านหัวชุกบัว หมู่ที่ 4 ต.สระพัฒนา พื้นที่ต้นแบบชุมชนล้อมรักษ์ ของอำเภอกำแพงแสน ที่ประสบความสำเร็จจากการดำเนินงานผ่าน 6 หลักการ 1.แต่งตั้งคณะทำงาน 2.ทำประชาคมเพื่อกำหนดแนวทาง 3.เปิดศูนย์คัดกรองยาเสพติดระดับตำบล ค้นหา คัดกรอง ผู้ใช้สารเสพติด 4.ให้การบำบัดรักษาโดยบุคลากรสาธารณสุขตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข 5.ติดตามฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 1 ปี และ 6.พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส. กล่าวว่า สสส. สนับสนุนการดำเนินโครงการและสานพลังโดย กลไก พชอ. และเครือข่ายชุมชนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด หลักการสำคัญของชุมชนล้อมรักษ์ คือการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งแต่ละพื้นที่มีวิธีการจัดการของตนเอง ผนวกกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและผู้ใช้สารเสพติดที่จะร่วมออกแบบการช่วยเหลือ โดยมีสาธารณสุขคอยหนุนเสริม ซึ่งวงเสวนาการแลกเปลี่ยนบทเรียนความสำเร็จของกลไก พชอ. ครั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการในทุกมิติ เพื่อให้เกิดผลดีแก่เด็กและเยาวชนในทุกพื้นที่ด้วย

“สสส. เราทำงานป้องกันเด็กเยาวชนจากเหล้าบุหรี่เป็นหลัก ซึ่งหากสภาพแวดล้อมของชุมชนยังมีตัวอย่างของการใช้สารเสพติดทั้งอยู่ในบ้าน ในครอบครัว ชุมชน ก็อาจจะทำให้มีการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้น สสส. ให้ความสำคัญในการร่วมแก้ปัญหายาเสพติด ในระดับต้นน้ำจากนโยบายชุมชนล้อมรักษ์ ซึ่งการจะดำเนินการให้สำเร็จได้ต้องเกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นอกจาก 5 เสือ พชอ. แล้ว ชุมชนต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและพร้อมเปิดใจทำงานไปด้วยกัน ซึ่ง อ.กำแพงแสน มีความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ถือว่าชุมชนให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างดีและเป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบที่คนในชุมชนร่วมบำบัดผู้ใช้สารเสพติดอย่างเต็มที่” นางสาวรุ่งอรุณ กล่าว

นายชัยยุทธ หุ่นเจริญ ปลัดอาวุโส ชำนาญการพิเศษ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม กล่าวว่า กระบวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลไก พชอ. พื้นที่อำเภอกำแพงแสนกำหนดให้ปัญหายาเสพติด เป็นประเด็นหลักในการแก้ไขปัญหา โดยมีการจัดตั้งชุมชนล้อมรักษ์ CBTx ในปี 2567 เพื่อให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ สาธารณสุขประจำตำบล อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และความร่วมมือจากชุมชน รวมถึงการสร้างประชาคมสร้างความรู้ความเข้าใจปรับเปลี่ยนทัศนคติเข้าใจตรงกันว่า ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษา รวมทั้งติดตามผู้บำบัดด้วยการสื่อสารเชิงบวกและการฟื้นฟูที่เป็นมิตร เพราะการที่ผู้เสพจะยอมรับการรักษาได้ คนในชุมชนต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ โดยเกิดจากความเข้มแข็งและความร่วมมือร่วมใจของคนในพื้นที่

“ตั้งต้นจากสาธารณสุขอำเภอกำแพงแสนจะประสานงานกับ 5 เสือภาคี ครบทุกภาคส่วนเพื่อดึงความร่วมมือมาสู่ชุมชน ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาเราดำเนินการเพื่อขยายการทำงานให้ครอบคลุมทุกตำบล เรามีชุมชนต้นแบบที่สามารถช่วยบำบัดผู้เสพจนออกมาจากวงโคจรนั้นมาได้ ซึ่งจะขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ต่อไป ขณะเดียวกันก็ลงพื้นที่ให้ความรู้ เพื่อต้องการดึงคนหลงผิดให้เข้าสู่การรักษาที่ถูกต้อง คืนคนดีสู่ชุมชนนั้น ๆ โดยไม่ได้ใช้กฎหมายบังคับข่มขู่ เพื่อให้คนในชุมชนปลอดยาเสพติด และอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข” นายอำนาจ กล่าว

นายบุญเลิศ สระทองล้อม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ชุมชนบ้านหัวชุกบัว ต.สระพัฒนา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม กล่าวว่า ประชากรที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนบ้านหัวชุกบัว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรบ่อเลี้ยงกุ้ง ขณะเดียวกันก็มีประชากรแฝงเข้าพักอาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวนไม่น้อย ทำให้ยาเสพติดเล็ดลอดสู่ชุมชน จนทำให้มีทั้งผู้ขายและผู้เสพ ภายหลังจากได้เข้าร่วมโครงการชุมชนล้อมรักษ์ จนกระทั่งมีหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมขับเคลื่อนกับชาวชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทำให้ชุมชนตื่นตัวและทำให้เกิดการเอกซเรย์บ้านเรือนแต่ละหลังได้อย่างละเอียด ทำให้สามารถดึงผู้ใช้สารเสพติดในชุมชนเข้าสู่กระบวนการบำบัดได้อย่างรวดเร็ว ผู้บำบัด จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน หรือการออกกำลังกับคนในชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี จากผลการดำเนินโครงการมีผู้ผ่านการบำบัดในปี 2566 จำนวน 18 ราย

Recent Posts

Categories

Related Articles

ฟิลิปส์ชวนอัปเดต 10 เทรนด์ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปี 2025

ในขณะที่ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นปัญหาสำคัญในวงการสาธารณสุข องค์กรด้านเฮลท์แคร์และผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขทั่วโลกจึงจำเป็นต้องพัฒนาและหาแนวทางในการให้บริการสาธารณสุขที่ดีกว่า พร้อมๆไปกับการตระหนักถึงความสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในบทความนี้จะขอนำทุกท่านไปอัปเดต 10 เทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปีค.ศ. 2025 ที่จะมาช่วยส่งมอบการดูแลรักษาที่ดีกว่าให้กับผู้คนได้มากขึ้นอย่างยั่งยืน 1. Generative AI: เทคโนโลยีที่มาเป็นผู้ช่วยเพื่อลดเวลาทำงาน...

เครือข่ายครูดีไม่มีอบายมุข ประกาศไม่เอาคาสิโน บุหรี่ไฟฟ้า สุราเสรี ห่วงสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ ย้ำ แม่พิมพ์ของชาติต้องรวมพลังเป็นแบบอย่างที่ดีครองตนรักษาศีล 5 เนื่องในวันครู

นางชยาภา คุณปิติคณา ครูโรงเรียนวมินทราชูทิศ อีสาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ประธานเครือข่ายครูดีไม่มีอบายมุข ปี 2567 (ปีที่13) เปิดเผยว่า ภายในงานประกาศรางวัลโครงการครูดีไม่มีอบายมุข ปี...

องค์กรด้านเด็ก จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก ห่างไกลปัจจัยเสี่ยงที่มากระทบการเติบโต

กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568...