Hotline 083-411-9393
Saturday , 5 April 2025
Home Lifestyle เครือข่ายต่อต้านความรุนแรงฯ เข้าชื่อผู้ริเริ่มเสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภาคประชาชน ชี้กฎหมายต้องเอาผิดผู้กระทำจริงจัง หยุดลอยนวล และคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายรอบด้าน จึงจะหยุดความรุนแรงในครอบครัวได้ เตรียมล่า 20,000 รายชื่อหนุน
Lifestyle

เครือข่ายต่อต้านความรุนแรงฯ เข้าชื่อผู้ริเริ่มเสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภาคประชาชน ชี้กฎหมายต้องเอาผิดผู้กระทำจริงจัง หยุดลอยนวล และคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายรอบด้าน จึงจะหยุดความรุนแรงในครอบครัวได้ เตรียมล่า 20,000 รายชื่อหนุน

สมาชิกเครือข่ายต่อต้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศประเทศไทย ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ จำนวน 10 องค์กร เข้ายื่นเรื่องริเริ่มเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ฉบับภาคประชาชนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนพรรคเพื่อไทยในฐานะฝ่ายรัฐบาล พรรคประชาชนในฐานะพรรคฝ่ายค้าน และนางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทยและคณะ เข้าร่วมรับหนังสือขอริเริ่มเข้าชื่อเสนอแก้ไขร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวของภาคประชาชน เป็นการปรับปรุงและยกเครื่องกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวให้มีประสิทธิภาพ เน้นดำเนินการทางอาญากับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง และเพิ่มกลไกคุ้มครองและฟื้นฟูเยียวยาผู้เสียหาย หวังช่วยลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้จริง

ดร. วราภรณ์ แช่มสนิท เลขาธิการสมาคมเพศวิถีศึกษา ในฐานะผู้แทนกลุ่มประชาชนผู้ริเริ่มยื่นเรื่องเสนอกฎหมายดังกล่าวต่อรัฐสภา ชี้ว่า พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีจุดที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ ที่สำคัญคือเรื่องหลักการของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งไปเน้นการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว แทนที่จะให้ความสำคัญสูงสุดกับการคุ้มครองสวัสดิภาพความปลอดภัยของผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวตามชื่อของกฎหมาย

“พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำในครอบครัวฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไปเน้นที่การรักษาครอบครัวให้อยู่ร่วมกัน แทนที่จะเน้นคุ้มครองสวัสดิภาพความปลอดภัยและการพื้นฟูเยียวยาผู้เสียหายที่ถูกกระทำรุนแรง ผลที่ตามมาก็คือ กฎหมายขาดมาตรการที่จะดำเนินการเอาผิดกับผู้กระทำความรุนแรงอย่างจริงจัง มีการกำหนดอัตราโทษจำคุกฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวให้เบากว่าอัตราโทษของความผิดลักษณะเดียวกันตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งยังเปิดช่องและสนับสนุนให้มีการไกล่เกลี่ยเพื่อยอมความ โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้รัดกุมและคำนึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้เสียหายอย่างเพียงพอ กลายเป็นความลักลั่นในการบังคับใช้กฎหมาย

“กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับมายาวนานถึง 18 ปี โดยไม่เคยถูกแก้ไขปรับปรุงเลย จริงอยู่ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กำลังมีความพยายามแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ แต่พวกเราองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมายาวนาน เราเห็นว่าร่างของ พม. ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการไปแล้ว ยังมีข้ออ่อน เพราะส่วนใหญ่เป็นการปรับแก้รายมาตราในประเด็นย่อย ขณะที่เรามองว่ากฎหมายฉบับนี้ต้องถูกรื้อและยกเครื่องใหม่ โดยเน้นให้รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการเอาผิดกับผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวอย่างจริงจัง และมีมาตรการที่รอบด้านในการคุ้มครองสวัสดิภาพและฟื้นฟูเยียวยาผู้เสียหาย เราจึงริเริ่มร่าง พ.ร.บ. ฉบับภาคประชาชนขึ้น เพื่อหวังให้การปรับปรุงกฎหมายมีประสิทธิภาพสูงสุด และเตรียมล่า 20,000 รายชื่อเสนอร่างกฎหมายต่อสภา” ดร. วราภรณ์ กล่าว

ขณะที่ นางสาวบุษยาภา ศรีสมพงษ์ ทนายความด้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศและผู้ก่อตั้งองค์กรชีโร่ (SHero Thailand) หนึ่งในคณะผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฉบับภาคประชาชน ชี้ว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับภาคประชาชน ที่นำมายื่นต่อสภาฯ ในวันนี้ เป็นกฎหมายที่พัฒนาขึ้นโดยยึดผู้ถูกกระทำเป็นศูนย์กลาง (survivor-centered) อย่างแท้จริง มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้งในแง่ของสิทธิ สวัสดิภาพความปลอดภัย และการฟื้นฟูเยียวยาผู้เสียหาย โดยไม่ผลักภาระให้ผู้เสียหายต้องยอมความเพื่อรักษาครอบครัวหรือยอมคืนดีกับผู้กระทำความรุนแรงทั้งที่ยังมีความเสี่ยงถูกกระทำซ้ำอย่างที่เป็นมา

“ร่าง พ.ร.บ. ของภาคประชาชนฉบับนี้ มีจุดแข็งคือการเปลี่ยนกรอบคิด จากการมองความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องในครอบครัวหรือเรื่องส่วนตัว ไปสู่การยอมรับว่าความรุนแรงในครอบครัวคืออาชญากรรมที่มีรากฐานจากโครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียม และต้องอาศัยมุมมองทางเพศและสิทธิมนุษยชนมาอุดช่องว่างของกฎหมายและนโยบายที่มีอยู่เดิม เราจึงออกแบบกฎหมายให้การกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นความผิดอาญา ผู้กระทำต้องเข้าสู่กระบวนการทางอาญาและมีการลงโทษตามที่กฎหมายอาญาระบุไว้ ขณะเดียวกัน เราก็เพิ่มกระบวนการคุ้มครองผู้เสียหายที่ครอบคลุมรอบด้านมากขึ้น โดยกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ในการคุ้มครองผู้เสียหายอย่างชัดเจนมากขึ้น และเพิ่มกระบวนการทำงานช่วยเหลือผู้เสียหายแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการรายกรณีคอยช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างรอบด้านและต่อเนื่อง และสำหรับผู้กระทำความรุนแรงที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนตัวเอง เรายังได้กำหนดให้มีมาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวควบคู่ไปกับกระบวนการทางศาล ซึ่งจะช่วงยับยั้งโอกาสที่บุคคลเหล่านี้จะไปกระทำผิดซ้ำ” นางสาวบุษยาภา กล่าว

Recent Posts

Categories

Related Articles

CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน เปิดตัว “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568” โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน...

เครือข่ายภาคประชาสังคม 100 องค์กร บุกรัฐสภา เรียกร้องรัฐสภา ฝ่ายค้าน ยับยั้งกฎหมายกาสิโน

นายธนากร  คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน พร้อมด้วย ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคม 100 องค์กร ยื่นหนังสือถึง ประธานรัฐสภาและผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อคัดค้านการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ที่รัฐสภา กรุงเทพฯ...

เปิดผลศึกษาชุมชน พบวัยรุ่นสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพียบ ถึงร้อยละ 38 เกินครึ่งรู้แหล่งซื้อในชุมชน ด้านหนุ่มไรเดอร์ เปิดใจ เคยเอาควันบุหรี่ไฟฟ้าไปทำร้ายคนที่บ้านช่วงสงกรานต์ เพราะคิดว่ามันไม่อันตราย สูบบุหรี่ไฟฟ้ามา 3 ปี เกือบเอาชีวิตไม่รอด ติดเชื้อในกระแสเลือด วอนหยุดเลิกสูบก่อนสายเกินไป “ดร.ลักขณา” ห่วงเด็กหญิงไทยสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 8 เท่า เลิกยาก เสี่ยงตอนตั้งท้องทารกตายในครรภ์ พร้อมเผยสารอันตรายเพียบ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ครอบครัวปลอดบุหรี่ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว กลุ่มไม้ขีดไฟ พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ “บุหรี่ไฟฟ้ามันร้าย” พร้อมเสวนา...

วิทยาลัยนานาชาติ DPU เปิดหลักสูตรใหม่ ‘ภาษาตะวันออกเพื่อธุรกิจ’ ญี่ปุ่น-เกาหลี ตั้งเป้าผลิตบัณฑิตป้อนสู่ตลาดแรงงานระดับนานาชาติ เปิดรับสมัครแล้ววันนี้!!

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (IC DPU) เดินหน้ายกระดับการศึกษาสู่มาตรฐานสากล ด้วยการเปิดหลักสูตรภาษาตะวันออกเพื่อธุรกิจ ที่มุ่งผลิตบัณฑิตคุณภาพสู่ตลาดแรงงานระดับนานาชาติ ตอบรับความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านภาษา ของนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งกำลังขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยและในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic...