Hotline 083-411-9393
Monday , 14 April 2025
Home Lifestyle CIBA DPU ประกาศผล “ประกวดโมเดลธุรกิจและสร้างแบรนด์ธุรกิจฯ ครั้งที่ 1” ทีมจาก ว.บริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ คว้าแชมป์ไปครอง รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
Lifestyle

CIBA DPU ประกาศผล “ประกวดโมเดลธุรกิจและสร้างแบรนด์ธุรกิจฯ ครั้งที่ 1” ทีมจาก ว.บริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ คว้าแชมป์ไปครอง รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจ การค้า  กระทรวงพาณิชย์ จัดการแข่งขันโครงการประกวดโมเดลธุรกิจและสร้างแบรนด์ธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยทีมชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษา ในพิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และหม่อมหลวงภู่ทอง ทองใหญ่ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล การแข่งขันครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 29 สถาบัน รวมทั้งสิ้น 34 ทีม โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม “แล้วทุกคนจะร้องว่า ว้าวๆ PNG”  จากวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ด้วยผลงานผลิตภัณฑ์อาหารว่างน้ำพริก 4 ภาคในรูปแบบสแนค

นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  กล่าวว่า โครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนระดับมัธยมปลายและอาชีวศึกษา ให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพและมีวิสัยทัศน์ในอนาคต โดยมุ่งส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการที่ครอบคลุมทั้งด้านการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ และความยั่งยืน ทั้งนี้ การที่เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จะช่วยให้เข้าใจการประกอบธุรกิจได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้น การออกแบบโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความสำเร็จทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แม้ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจอาชีพอิสระค่อนข้างมาก แต่การทำงานในองค์กรก็เป็นทางเลือกที่มีความมั่นคงในระยะยาว ซึ่งทักษะการเขียนโมเดลธุรกิจถือเป็นสิ่งจำเป็นไม่ว่าจะทำงานในรูปแบบใด ทั้งการขอสินเชื่อหรือการนำเสนอโครงการในองค์กร ที่สำคัญยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจด้วย

นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

” CIBA มีแผนต่อยอดโครงการฯ นี้ โดยจะนำทีมที่ชนะเลิศจากการประกวด ไปศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงานในวิชาชีพและเห็นการประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนในสถานการณ์จริง พร้อมสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษา ให้รุ่นน้องได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ใน CIBA DPU มากขึ้น ” คณบดี CIBA กล่าว

นายพฤฒิพงศ์  เกตุปัญญา นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า เกณฑ์การประเมินการแข่งขันมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ความยั่งยืน ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ แผนการตลาด และทักษะการนำเสนอ ทั้งนี้ ขอชื่นชมทีมผู้เข้าแข่งขันทุกทีมที่นำเสนอโมเดลธุรกิจได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเยาวชนรุ่นใหม่มีความสามารถในการนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในด้านความยั่งยืน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ มีจุดเด่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารว่างที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้หลากหลาย มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาด และใช้วัตถุดิบสมุนไพรจากท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากที่มีมูลค่าสูงในอนาคตได้

“การที่มีเยาวชนให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นแนวโน้มที่เยาวชนรุ่นใหม่มีความสนใจในการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของประเทศ และขอเชิญชวนให้สถาบันการศึกษาอื่นๆ ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งถัดไป เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพในอนาคต” นายพฤฒิพงศ์ กล่าว

ด้านทีม “แล้วทุกคนจะร้องว่า ว้าวๆ PNG” ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศ ประกอบด้วย นางสาว ณัฐริกา น่วมทะนะ  นายธนิต กองเป็ง และ นายศุภวัฒน์ กรีน นักเรียนสาขาการตลาด ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 1 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ร่วมกล่าวเปิดใจว่า โมเดลธุรกิจของทีม คือ ผลิตภัณฑ์ “4 แซ่บ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมอาหารว่างที่ผสมผสานสมุนไพรในรูปแบบน้ำพริก 4 ภาค โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นแคบหมูกรอบและผักกรอบ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมา เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีเวลาจำกัดในการทานอาหาร สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ การนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านวัตถุดิบสมุนไพรจากทั้ง 4 ภูมิภาค อาทิ ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และมะขาม ซึ่งนอกจากจะให้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรในการต้านโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยังออกแบบให้พกพาง่าย เพียงฉีกซองก็สามารถทานได้ทันที มีการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแสกนคิวอาร์โค้ดด้านหลังซอง เพื่อรับชมคลิปวิดีโอแสดงบรรยากาศจากชุมชนท้องถิ่น ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสินค้า ส่วนในด้านความยั่งยืน ผลิตภัณฑ์นี้ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีแผนพัฒนาต่อยอดด้วยการเพิ่มอักษรเบรลล์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้พิการทางสายตา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต

Recent Posts

Categories

Related Articles

CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน เปิดตัว “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568” โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน...

“realme 14 5G Series” ประกาศ First Sale ทั่วประเทศพร้อมกัน 4 เมษายนนี้

realme Thailand ประกาศวัน First Sale อย่างเป็นทางการของสมาร์ตโฟนตัวแรงแห่งปีอย่าง “realme 14 5G Series” ให้ทุกคนได้จับจองเป็นเจ้าของพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 4...

เครือข่ายต่อต้านความรุนแรงฯ เข้าชื่อผู้ริเริ่มเสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภาคประชาชน ชี้กฎหมายต้องเอาผิดผู้กระทำจริงจัง หยุดลอยนวล และคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายรอบด้าน จึงจะหยุดความรุนแรงในครอบครัวได้ เตรียมล่า 20,000 รายชื่อหนุน

สมาชิกเครือข่ายต่อต้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศประเทศไทย ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ จำนวน 10 องค์กร เข้ายื่นเรื่องริเริ่มเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ฉบับภาคประชาชนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนพรรคเพื่อไทยในฐานะฝ่ายรัฐบาล พรรคประชาชนในฐานะพรรคฝ่ายค้าน และนางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์...

เครือข่ายภาคประชาสังคม 100 องค์กร บุกรัฐสภา เรียกร้องรัฐสภา ฝ่ายค้าน ยับยั้งกฎหมายกาสิโน

นายธนากร  คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน พร้อมด้วย ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคม 100 องค์กร ยื่นหนังสือถึง ประธานรัฐสภาและผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อคัดค้านการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ที่รัฐสภา กรุงเทพฯ...