Hotline 083-411-9393
Saturday , 5 April 2025
Home Lifestyle CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก
Lifestyle

CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน เปิดตัว “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568” โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน

อาจารย์สุรชัย สวนทับทิม รองคณบดีและหัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศและสาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ เปิดเผยว่า CIBA ได้เข้าร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยยังคงยึดกรอบการดำเนินการในแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน โครงการฯดังกล่าว ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารออมสิน ภาค 5 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยได้จัดส่งนักศึกษาจำนวน 5 กลุ่ม จาก 3 คณะ ได้แก่ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ลงพื้นที่เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลจาก 5 ชุมชนในจังหวัดนนทบุรีและนครปฐมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภายหลังจากการลงพื้นที่ นักศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและนำเสนอแนวทางการแก้ไขต่อธนาคารออมสินและคณะกรรมการในการนำเสนอโครงการย่อย โดยคณะกรรมการได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาที่มุ่งเน้นให้การดำเนินโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก มีแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม และสามารถพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว  

โดยนักศึกษาได้นำเสนอโครงการย่อยจาก 5 ชุมชน ประกอบด้วย

1.ทีมวิจิตรนนทรี นำเสนอผลิตภัณฑ์ผ้าทอลายวิจิตรนนทรี จากศูนย์วิสาหกิจทอผ้าจังหวัดนนทบุรี กลุ่มรวมใจรักษ์มหาสวัสดิ์ วัดโคนอนมหาสวัสดิ์ จ.นนทบุรี

2.ทีม U Want We Take นำเสนอผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านท่าอิฐสัมพันธ์ บ้านวัดแดง จ.นนทบุรี

3.ทีม Little Roukies นำเสนอผลิตภัณฑ์อาหาร (ไส้กรอก) จากชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านขวัญเมือง จ.นนทบุรี

4.ทีม Roots & Routes นำเสนอการพัฒนาธุรกิจและบริการท่องเที่ยว จากกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านยางพัฒนา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

5.ทีม Summit Seekers นำเสนอวิสาหกิจชุมชนเสื้อผ้าสำเร็จรูปและมัดย้อม (วงเดือนมัดย้อม: WONGDUENMATYOM) จ.นนทบุรี

    อาจารย์สุรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเป้าหมายหลักของโครงการ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าในชุมชนและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน โดยในแต่ละปีจะมี 5 ชุมชนเข้าร่วมโครงการ โดยมาจากการสำรวจของมหาวิทยาลัย และธนาคารออมสิน หรือร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด (พช.) ในการคัดเลือกชุมชนที่มีสินค้าที่น่าสนใจ หรือชุมชนที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น เพื่อต่อยอดและพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจได้

    นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีเงื่อนไขให้แต่ละมหาวิทยาลัยกลับไปติดตามผลชุมชนเดิมอย่างน้อย 2 ชุมชน เพื่อประเมินความก้าวหน้าและให้การสนับสนุนเพิ่มเติม โดยหนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบ คือ เรื่องแรงงานในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย ทำให้การพัฒนาชุมชนขาดความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ชุมชนที่เข้มแข็งและสานต่อโครงการได้ส่วนใหญ่มีเครือข่ายเข้ามาช่วยเหลือ จึงทำให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น

    อาจารย์สุรชัย กล่าวด้วยว่า จุดเด่นของโครงการออมสินยุวพัฒน์ฯ คือ นักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชาได้มาทำงานร่วมกัน เพื่อนำความรู้เฉพาะด้านมาบูรณาการช่วยเหลือชุมชน โดยเฉพาะด้านบัญชีที่มีความต้องการสูงในการช่วยชุมชนจัดทำบัญชีครัวเรือน คำนวณต้นทุน ค่าใช้จ่าย และรายได้ ส่วนด้านการตลาดก็จะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และช่องทางการจัดจำหน่าย โดยปีนี้หลังผ่านการเสนอโครงการย่อย ลำดับถัดไปจะเป็นการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง จากนั้นจะมีการนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของโครงการ โดยผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะเลิศจะได้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ เพื่อแข่งขันกับตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ

    “สิ่งที่นักศึกษาได้รับจากโครงการนี้ คือ โอกาสในการนำความรู้จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริง พร้อมกับได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพในอนาคต ในขณะเดียวกัน ธนาคารออมสินในฐานะสถาบันการเงินเพื่อสังคม มีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน ผ่านการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างรายได้อย่างมั่นคง ซึ่งไม่เพียงแต่เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน แต่ยังเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว” อาจารย์สุรชัย กล่าวทิ้งท้าย

    Related Articles

    เครือข่ายต่อต้านความรุนแรงฯ เข้าชื่อผู้ริเริ่มเสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภาคประชาชน ชี้กฎหมายต้องเอาผิดผู้กระทำจริงจัง หยุดลอยนวล และคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายรอบด้าน จึงจะหยุดความรุนแรงในครอบครัวได้ เตรียมล่า 20,000 รายชื่อหนุน

    สมาชิกเครือข่ายต่อต้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศประเทศไทย ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ จำนวน 10 องค์กร เข้ายื่นเรื่องริเริ่มเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ฉบับภาคประชาชนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนพรรคเพื่อไทยในฐานะฝ่ายรัฐบาล พรรคประชาชนในฐานะพรรคฝ่ายค้าน และนางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์...

    เครือข่ายภาคประชาสังคม 100 องค์กร บุกรัฐสภา เรียกร้องรัฐสภา ฝ่ายค้าน ยับยั้งกฎหมายกาสิโน

    นายธนากร  คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน พร้อมด้วย ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคม 100 องค์กร ยื่นหนังสือถึง ประธานรัฐสภาและผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อคัดค้านการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ที่รัฐสภา กรุงเทพฯ...

    เปิดผลศึกษาชุมชน พบวัยรุ่นสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพียบ ถึงร้อยละ 38 เกินครึ่งรู้แหล่งซื้อในชุมชน ด้านหนุ่มไรเดอร์ เปิดใจ เคยเอาควันบุหรี่ไฟฟ้าไปทำร้ายคนที่บ้านช่วงสงกรานต์ เพราะคิดว่ามันไม่อันตราย สูบบุหรี่ไฟฟ้ามา 3 ปี เกือบเอาชีวิตไม่รอด ติดเชื้อในกระแสเลือด วอนหยุดเลิกสูบก่อนสายเกินไป “ดร.ลักขณา” ห่วงเด็กหญิงไทยสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 8 เท่า เลิกยาก เสี่ยงตอนตั้งท้องทารกตายในครรภ์ พร้อมเผยสารอันตรายเพียบ

    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ครอบครัวปลอดบุหรี่ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว กลุ่มไม้ขีดไฟ พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ “บุหรี่ไฟฟ้ามันร้าย” พร้อมเสวนา...

    วิทยาลัยนานาชาติ DPU เปิดหลักสูตรใหม่ ‘ภาษาตะวันออกเพื่อธุรกิจ’ ญี่ปุ่น-เกาหลี ตั้งเป้าผลิตบัณฑิตป้อนสู่ตลาดแรงงานระดับนานาชาติ เปิดรับสมัครแล้ววันนี้!!

    วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (IC DPU) เดินหน้ายกระดับการศึกษาสู่มาตรฐานสากล ด้วยการเปิดหลักสูตรภาษาตะวันออกเพื่อธุรกิจ ที่มุ่งผลิตบัณฑิตคุณภาพสู่ตลาดแรงงานระดับนานาชาติ ตอบรับความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านภาษา ของนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งกำลังขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยและในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic...