Hotline 083-411-9393
Saturday , 5 April 2025
Home Lifestyle คณบดี CITE DPU เจาะลึกศักยภาพ “Gen-AI” โมเดล AI Chat Bot ยอดนิยม ที่มีทั้ง ข้อดี ข้อจำกัด แนะควรศึกษาข้อมูลก่อนใช้งานและใช้ Prompt มากกว่า 1 แหล่งข้อมูล เพื่อตรวจสอบความแม่นยำและป้องกันความผิดพลาด
Lifestyle

คณบดี CITE DPU เจาะลึกศักยภาพ “Gen-AI” โมเดล AI Chat Bot ยอดนิยม ที่มีทั้ง ข้อดี ข้อจำกัด แนะควรศึกษาข้อมูลก่อนใช้งานและใช้ Prompt มากกว่า 1 แหล่งข้อมูล เพื่อตรวจสอบความแม่นยำและป้องกันความผิดพลาด

เมื่อเทคโนโลยี Generative AI  (GEN-AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ด้วยตนเอง อย่าง AI Chat Bot กำลังเข้ามามีบทบาทในทุกสาขาอาชีพ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) จึงเร่งผนวกทักษะการใช้งาน GEN-AI ในทุกหลักสูตรการเรียนการสอนและทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อพัฒนาการใช้ทักษะของนักศึกษาให้เป็น Soft Skill และเพื่อรองรับการเป็น Normal ของ AI ในอนาคต พร้อมแนะนำให้ใช้งานเครื่องมือดังกล่าวอย่างเหมาะสมและตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปใช้งานจริงอยู่เสมอ

ผศ.ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า Generative AI (GEN-AI) เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ได้อย่างอัตโนมัติหลากหลายรูปแบบ โดยเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างผลลัพธ์ใหม่ ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ซึ่งความสามารถดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็วขึ้น โดยนิยมนำมาใช้ในหลากหลายวงการ อาทิ Digital Marketing วงการเพลง วงการสร้างสรรค์ รวมถึงงานดีไซน์ นอกจากนี้ Gen-AI ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษาได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อหาการสอนบทเรียน การค้นคว้าข้อมูล การเขียน หรือการทำวิจัย อย่างไรก็ตาม Gen-AI ก็มีข้อจำกัดบางประการเนื่องจากอาจสร้างข้อมูลเท็จ หรือข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำ รวมถึงการสร้างข้อความที่ไม่สละสลวยหรือแปลภาษาได้ไม่ถูกต้อง เป็นต้น

ผศ.ดร.ชัยพร กล่าวว่า เทคโนโลยี GEN-AI เปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ใช้งานควรใช้อย่างระมัดระวังและปรับเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการ สำหรับการทำงานของ GEN-AI จะใช้เทคโนโลยีเชิงลึก(Deep Learning) มาสร้างเนื้อหาใหม่ในหลากหลายรูปแบบ เช่น สร้างข้อความ รูปภาพ เพลง และวิดีโอ เป็นต้น ส่วนโมเดลที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Chat GPT, Gemini, Claude, Perplexity, Copilot  โดยมีจุดเด่นและข้อจำกัด ดังนี้ Chat GPT” คือโมเดลภาษาขนาดใหญ่ ที่พัฒนาโดย Open AI ทำหน้าที่สร้างข้อความโต้ตอบกับผู้ใช้งานในรูปแบบการสนทนา โดยจะจำคำสั่งเก่าและสามารถป้อนคำถามต่อเนื่องได้ ส่วนข้อจำกัด คือ เวอร์ชันที่มีการใช้งานฟรี ข้อมูลจะล้าหลัง 1-2 ปี(อัปเดตถึงปี 2022)  ส่วนเวอร์ชัน GPT-4 และ GPT Plus จะมีค่าใช้จ่ายและมีมีข้อมูลอัปเดตถึงปี 2023 เท่านั้น ส่วน “Gemini” เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่พัฒนาจาก Google AI เชี่ยวชาญในการสร้างข้อความ แปลภาษา เขียนเนื้อหาสร้างสรรค์ ตอบคำถาม และสรุปข้อมูล เข้าถึงได้ผ่าน Google Search มีข้อดี คือ ใช้งานง่าย มีแหล่งอ้างอิงข้อมูล และข้อมูลอัปเดตใหม่กว่าโมเดลอื่น ส่วนข้อจำกัด คือ อาจสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะเรียนรู้ข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ Google

ผศ.ดร.ชัยพร  กล่าวต่อว่า สำหรับ Claude AI” เป็นโมเดลภาษา ที่พัฒนาโดย Google Research ร่วมกับ Anthropic มีความเชี่ยวชาญด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เรียนรู้คำสั่งภาษาไทยได้ดี แต่ไม่สามารถถามต่อเนื่องได้ ด้าน Perplexity” ถูกพัฒนาโดยบริษัท Perplexity AI ก่อตั้งโดย Aravind Srinivas อดีตวิศวกรของ Googleและ Open AI ได้รับทุนสนับสนุนจาก CEO Amazon จุดเด่นคือ ให้คำตอบโดยตรงกับสิ่งที่ค้นหา แสดงลิงก์และเว็บไซต์อ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูล เหมาะกับการทำวิจัย มีข้อจำกัดด้านข้อมูลที่อาจไม่ถูกต้องหรือบิดเบือน เนื่องจากเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมหาศาล ส่วนCopilot”  ถูกพัฒนาโดย ทีมวิศวกรของ Microsoft เหมาะสำหรับผู้ใช้ Microsoft 365 ที่ต้องการใช้งานแบบหลากหลาย อาทิ ช่วยเขียนเอกสาร แปลภาษา วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงงานออกแบบ งานวิจัย มีฟีเจอร์วาดรูปแต่ยังอยู่ในช่วงพัฒนาฟังก์ชัน มีข้อจำกัด คือ จำกัดจำนวนคำถามในแต่ละวัน ดังนั้นควรศึกษาโมเดลทั้งหมดก่อนนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานในแต่ละประเภท

ผศ.ดร.ชัยพร  กล่าวเสริมว่า เทรนด์การใช้งาน GEN-AI กำลังได้รับความนิยิมอย่างสูงจากเด็กยุคใหม่ เนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มสิทธิภาพในการศึกษาได้เป็นอย่างดี แม้เด็กบางส่วนอาจยังไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับใช้งานระบบ AI ในเวอร์ชั่นที่แอดวานซ์ แต่ก็สามารถเรียนรู้และใช้งานเวอร์ชั่นฟรีได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำมาช่วยในการค้นคว้าสรุปงานและทำรายงานต่างๆ ในขณะที่บริษัทหรือผู้ที่มีกำลังทรัพย์ แม้จะใช้เวอร์ชั่นที่มีการชำระเงิน แต่โมเดล AI ที่ใช้ยังมีข้อจำกัดในความถูกต้องของข้อมูล จึงต้องตรวจสอบอยู่เสมอ สำหรับความชำนาญในการใช้เครื่องมือ AI นั้น ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งาน หากใช้บ่อยครั้งก็จะยิ่งมีทักษะในการใช้งานที่คล่องแคล่วมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงานได้ ส่งผลให้มีเวลามากขึ้นในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่หรือหาไอเดียต่อยอดงานมากขึ้น

“ภายใน 2 ปีข้างหน้า ทักษะในการใช้ GEN-AI จะกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับทุกคน หากใครไม่รู้เรื่องดังกล่าวถือว่าตกขบวนหรือเสียเปรียบได้ ดังนั้น CITE DPU จึงได้ผนวกความรู้การใช้งาน AI ที่ผ่านคำสั่ง Prompt เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับและทุกสาขาวิชา เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษาใช้เป็นทักษะเสริม นอกจากนี้ยังจัดอบรมการใช้งานเครื่องมือ AI อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้นักศึกษาได้อัปเดตความรู้และเทคนิคการใช้งานอยู่เสมอ ซึ่งปัจจุบัน เด็ก CITE DPU ทุกคนใช้โมเดล AI เป็นเรื่อง Normal แล้ว สำหรับนักศึกษาที่ต้องการมุ่งเน้นเป็นนักพัฒนา AI โดยตรง สามารถเลือกเรียนในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทั้งระดับปริญญาตรี-โท-เอก ที่มีหลักสูตรด้าน AI รองรับ อย่างไรก็ตามแม้ AI จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการช่วยประมวลผลและสรุปข้อมูล แต่ข้อมูลที่ได้มามีข้อจำกัดอาจมีความคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง ดังนั้นในการใช้งานจริงจำเป็นต้องใช้ Prompt หรือโมเดล AI มากกว่า 1 แหล่ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น”ผศ.ดร.ชัยพร  กล่าวทิ้งท้าย

ผู้สนใจในหลักสูตรต่าง ๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://cite.dpu.ac.th/

Recent Posts

Categories

Related Articles

CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน เปิดตัว “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568” โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน...

เครือข่ายต่อต้านความรุนแรงฯ เข้าชื่อผู้ริเริ่มเสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภาคประชาชน ชี้กฎหมายต้องเอาผิดผู้กระทำจริงจัง หยุดลอยนวล และคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายรอบด้าน จึงจะหยุดความรุนแรงในครอบครัวได้ เตรียมล่า 20,000 รายชื่อหนุน

สมาชิกเครือข่ายต่อต้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศประเทศไทย ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ จำนวน 10 องค์กร เข้ายื่นเรื่องริเริ่มเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ฉบับภาคประชาชนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนพรรคเพื่อไทยในฐานะฝ่ายรัฐบาล พรรคประชาชนในฐานะพรรคฝ่ายค้าน และนางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์...

เครือข่ายภาคประชาสังคม 100 องค์กร บุกรัฐสภา เรียกร้องรัฐสภา ฝ่ายค้าน ยับยั้งกฎหมายกาสิโน

นายธนากร  คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน พร้อมด้วย ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคม 100 องค์กร ยื่นหนังสือถึง ประธานรัฐสภาและผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อคัดค้านการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ที่รัฐสภา กรุงเทพฯ...

เปิดผลศึกษาชุมชน พบวัยรุ่นสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพียบ ถึงร้อยละ 38 เกินครึ่งรู้แหล่งซื้อในชุมชน ด้านหนุ่มไรเดอร์ เปิดใจ เคยเอาควันบุหรี่ไฟฟ้าไปทำร้ายคนที่บ้านช่วงสงกรานต์ เพราะคิดว่ามันไม่อันตราย สูบบุหรี่ไฟฟ้ามา 3 ปี เกือบเอาชีวิตไม่รอด ติดเชื้อในกระแสเลือด วอนหยุดเลิกสูบก่อนสายเกินไป “ดร.ลักขณา” ห่วงเด็กหญิงไทยสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 8 เท่า เลิกยาก เสี่ยงตอนตั้งท้องทารกตายในครรภ์ พร้อมเผยสารอันตรายเพียบ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ครอบครัวปลอดบุหรี่ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว กลุ่มไม้ขีดไฟ พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ “บุหรี่ไฟฟ้ามันร้าย” พร้อมเสวนา...