Hotline 083-411-9393
Friday , 22 November 2024
Home Lifestyle คณะนิติฯ DPU ผลิตนักกฎหมายรอบรู้ข้ามศาสตร์ ตอบโจทย์งานทุกบริบท ไม่จำกัดเพียงตัวบทกฎหมาย
Lifestyle

คณะนิติฯ DPU ผลิตนักกฎหมายรอบรู้ข้ามศาสตร์ ตอบโจทย์งานทุกบริบท ไม่จำกัดเพียงตัวบทกฎหมาย

ณ วันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกอย่างล้วนต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น “กฎหมาย” ก็เช่นกัน มีความท้าทายทางด้านกฎหมายมากมายจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและสังคม เนื่องด้วยทุกอย่างล้วนมีกฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น

แน่นอน !! เมื่อโลกเปลี่ยนไปหลักสูตรการเรียนการสอนด้านนิติศาสตร์ ย่อมไม่เหมือนเดิม..

คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU ภายใต้การนำของ
“ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ” คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ คนที่ 11 ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา จะมีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างไร ? เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย

ด้วยประสบการณ์การทำงานของ “ดร. สุทธิพล” ผ่านร้อนผ่านหนาวทั้งในสำนักงานทนายความขนาดใหญ่ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายที่ Law Firm ชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลแพ่ง โฆษกศาลยุติธรรมคนแรก รองเลขานุการศาลฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรรมการตรวจการแผ่นดิน (คตง.) ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ล่าสุดตัดสินใจเข้าสู่แวดวงการศึกษา “ดร.สุทธิพล” มุ่งมั่นจะนำประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในแวดวง กฎหมายธุรกิจและการบริหารมาสู่การพัฒนานักศึกษานิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU ให้เป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญมีความรอบรู้กฎหมายและสหวิทยาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU

นิติฯ ยุคใหม่ต้องคิดเป็นไม่เน้นท่องจำ-สร้าง DNA ให้มีใจยุติธรรม

“ดร. สุทธิพล” กล่าวว่า แม้กระบวนการร่างกฎหมายอาจจะมีข้อจำกัด เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลานาน แต่ก็มีการพัฒนากฎหมายใหม่ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงใหม่ๆ รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนแตกต่างไปจากเดิม ข้อพิพาทต่างๆ ในสังคมก็เปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU มีการปรับตัวและปรับวิธีการสอนอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีข้อได้เปรียบ คือ มีคณาจารย์ทั้งภายในและภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมี Facility ส่วนกลางที่ทันสมัย เช่น ระบบห้องสมุด ระบบการค้นคว้าออนไลน์และระบบเทคโนโลยีล้ำสมัย ดังนั้น DPU จึงผลิตนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่ไม่ได้จำกัดให้รอบรู้เฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่มุ่งผลิตนักกฎหมายที่ต้องใช้กฎหมายช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วย

“หลักสูตรการเรียนการสอน ต้องให้นักศึกษาเข้าใจในตรรกะต่างๆ คิดและวิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำ นักกฎหมายยุคใหม่จะมีความเชี่ยวชาญด้านตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้รอบด้าน และต้องเขียนให้เป็น สื่อสารหรือให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อื่นได้ชัดเจน ถูกต้อง ตรงประเด็น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย แต่ต้องรอบคอบและรัดกุม ต้องทำงานร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายได้ดี เพราะอาจต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ ภาคธุรกิจ เทคโนโลยี การเงินการธนาคาร ล้วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งสิ้น

ฉะนั้น จึงต้องผลิตนักกฎหมายที่มีความเป็นผู้นำ (leadership skill) สามารถนำกฎหมายไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ต่างๆ ได้ เพราะสิ่งที่จะเจอในความเป็นจริง อาจไม่ได้อยู่ในตำรา เราจึงต้องฝึกความพร้อมให้นักศึกษาสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องย้ำให้อยู่ใน DNA ของนักศึกษานิติศาสตร์ฯ DPU คือ การตั้งอยู่บนหลักการของความถูกต้องโปร่งใสและยุติธรรม โดยไม่หวั่นไหวไปตามกระแสหรืออิทธิพลใดๆ” ดร.สุทธิพล กล่าว

ลุย Reform หลักสูตร-นักกฎหมายรุ่นใหม่ ต้องรู้รอบด้าน

ขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน สำหรับการผลิตนักศึกษากฎหมายคณะนิติศาสตร์ฯ DPU ใหม่โดยเร็ว “ดร. สุทธิพล” จะนำประสบการณ์ ความรู้ และเครือข่ายจากการทำงานในแวดวงกฎหมายและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาช่วยพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา นอกเหนือจากการเพิ่มเติมทักษะที่นักกฎหมายรุ่นใหม่ ต้องมี โดยเน้นในเรื่องคุณภาพเพราะต้องการเข้าไปดูแลและติดตามให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง

“ดร. สุทธิพล” ย้ำอีกว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่ต้องมีความพร้อมในการปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมถึงคณาจารย์และบุคลากรของคณะต้องอัปเดตความรู้อย่างต่อเนื่อง พร้อมต้องทำงานเชิงรุกและใกล้ชิดกับนักศึกษามากขึ้น โดยจะปรับปรุงสัดส่วนของจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาให้น้อยลงเพื่อให้คำปรึกษานักศึกษาได้อย่างทั่วถึง และปรับการเรียนการสอนโดยเชื่อมโยงกับคณาจารย์ของคณะอื่นๆ และวิทยาลัยต่างๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี อาจารย์ทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีจะเป็นผู้เข้ามาช่วยเติมเต็มนักศึกษาในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น รวมถึงการเชิญกูรูหรือนักกฎหมายที่มีประสบการณ์ในสายปฏิบัติ เช่น อาจารย์ที่บรรยายที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา เข้ามาสอนเพื่อเสริมการเรียนการสอนกฎหมายภาควิธีสบัญญัติให้กับนักศึกษา

“การเรียนเฉพาะในตำราอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ นักศึกษาต้องได้รับการฝึกปฏิบัติให้รู้จักวิธีการค้นคว้า ศึกษาเปรียบเทียบ ดู Best Practices จากประเทศอื่นๆ ด้วย เราจะสอนให้การเรียนกฎหมายเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ ที่สำคัญนักกฎหมายที่ดีจะต้องมีจริยธรรม เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเข้าใจในกลไกของกระบวนการยุติธรรมดีพอ ที่จะสามารถคุ้มครองสิทธิให้กับผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม” ดร. สุทธิพล กล่าว

เรียนรู้เทคโนโลยีช่วยงานกฎหมาย

ปัจจุบันมีกฎหมายออกใหม่จำนวนมากและการใช้ชีวิตของผู้คนล้วนพึ่งพาเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ChatGPT, IoT (Internet of Thing) และ Big Data ดังนั้น นักกฎหมายต้องรู้จักและเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้

คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU กล่าวว่า นักกฎหมายยุคใหม่ต้องปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้น การผลิตนักกฎหมาย ต้องทำให้พวกเขาได้รับรู้ถึงความเสี่ยงใหม่ๆ ว่าสามารถอุบัติขึ้นได้ตลอดเวลาต้องเข้าใจบริบทของสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนไป และเข้าใจกลไกการทำงานของเทคโนโลยีในแต่ละรูปแบบเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้ AI ค้นหาข้อมูลทางการกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว หรือวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ มาสนับสนุนในการตัดสินใจ โดย AI สามารถให้คำแนะนำและช่วยในการตัดสินใจทางกฎหมาย รวมทั้งการวิเคราะห์แนวโน้มของผลการตัดสินหรือการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินคดี เป็นต้น

“DPU จะผลิตนักกฎหมายที่สามารถทำให้กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้จริง มีความชัดเจนและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะนักกฎหมายยุคใหม่ต้องเป็นผู้ใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมด้วย กล่าวคือ ต้องทำให้นักกฎหมายที่ออกจากรั้วนิติศาสตร์ฯ DPU สามารถใช้กฎหมายหรือศาสตร์ต่างๆ เข้ามาช่วยผ่าทางตันหรือผลักดันนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานหรือประเทศชาติให้สามารถเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งทางกฎหมายให้กับประชาชนได้รับความถูกต้องและเป็นธรรมในสังคม” ดร. สุทธิพล กล่าว

คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกทางกฎหมาย เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านนิติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ซึ่งหลักสูตรของคณะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความทันสมัยและสอดคล้องต่อความต้องการของสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกในหลักวิชาชีพกฎหมาย มีความรอบรู้รอบด้าน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม อยากรู้ว่านักกฎหมายรุ่นใหม่เป็นอย่างไร สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://law.dpu.ac.th/ หรือสอบถามได้ที่โทร. 02-954-7300 ต่อ 283, 308

Recent Posts

Categories

Related Articles

DPU คณะการท่องเที่ยวฯ สุดปัง! ยอด นศ.ใหม่เพิ่มกว่า 20% สาขาการโรงแรมรั้งที่ 1  ตามด้วย การท่องเที่ยวและศิลปะการประกอบอาหาร

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มุ่งเน้นเสริมทักษะการเพิ่มการบริการมูลค่าสูง (High Value Added  Services) ในทุกหลักสูตร โดยเฉพาะสาขาการโรงแรมที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 หวังเตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่การเป็นบุคลากรคุณภาพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมระดับสูง...

แคนนอนบุกตลาดงานบรอดคาสต์และโปรดักชันระดับมืออาชีพ ยกทัพกลุ่มผลิตภัณฑ์ Professional VDO Broadcasting พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ กล้องถ่ายภาพยนตร์ EOS C400 และ EOS C80 เสริมไลน์อัปด้วยเลนส์ซิเนม่า CN7x17 เขย่าวงการกล้องถ่ายภาพยนตร์ไทย

แคนนอน แบรนด์ผู้นำด้านเทคโนโลยีอิมเมจจิ้งระดับโลกประกาศก้าวสำคัญเขย่าวงการ บรอดคาสต์และโปรดักชันระดับมืออาชีพไทย จัดงานใหญ่ส่งท้ายปี 2567 “Canon Broadcast and Production World 2024 –...

แอร์บัสคาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวน 19,500 ลำ ภายในปี 2586

แอร์บัสได้เผยแพร่การคาดการณ์ตลาดระดับภูมิภาคครั้งล่าสุด โดยประเมินว่าภาคการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวน 19,500 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งคิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการเครื่องบินทั่วโลก โดยคาดว่าความต้องการเครื่องบินใหม่ทั้งหมดทั่วโลกจะมีประมาณ 42,430 ลำ ภายในปี 2586 นายอานันท์ สแตนลีย์ (Anand Stanley) ประธานแอร์บัสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เปิดเผยข้อมูลและการคาดการณ์ดังกล่าวระหว่างการประชุมประจำปีของประธานสมาคมสายการบินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Association of Asia-Pacific...

‘ความเครียด’ ภัยเงียบกระตุ้นโรคเบาหวาน! วงจรอันตรายที่วัยรุ่น-วัยทำงานควรระวัง

ความเครียดกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานที่ต้องรับมือกับความเร่งรีบและแรงกดดันมากมาย หลายคนเลือกจัดการความเครียดด้วยการกินของหวาน เช่น ชานม ช็อกโกแลต โดนัท เพราะรสชาติอร่อย กินแล้วรู้สึกดี เยียวยาจิตใจ แต่การคลายเครียดด้วยของหวานบ่อย ๆ...