Hotline 083-411-9393
Monday , 24 February 2025
Home Lifestyle สสส. ร่วมถอดบทเรียน “มะนังยงโมเดล” หมู่บ้าน CBTx ที่ยึดหลักศาสนบำบัดและสร้างงานสร้างอาชีพ แก้ปัญหายาเสพติดพื้นที่ จ.ปัตตานี คืนความสันติสุขสู่ชุมชน
Lifestyle

สสส. ร่วมถอดบทเรียน “มะนังยงโมเดล” หมู่บ้าน CBTx ที่ยึดหลักศาสนบำบัดและสร้างงานสร้างอาชีพ แก้ปัญหายาเสพติดพื้นที่ จ.ปัตตานี คืนความสันติสุขสู่ชุมชน

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนัก1 (สสส.) ลงพื้นที่ถอดบทเรียนการดำเนินงานขับเคลื่อน “ชุมชนล้อมรักษ์” CBTx ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตําบลที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดเป็นอย่างมากเป็นอันดับที่ 3 จากจํานวน 18 ตําบล ของอําเภอยะหริ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มประชาชนช่วงอายุ ตั้งแต่ 15 – 35 ปี ก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยของชุมชนหลายเหตุการณ์ จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้การดำเนินงานใน โครงการครอบครัวสภาประชาธิปไตยแก้ปัญหายาเสพติด (มะนังยงโมเดล) ด้วยกระบวนการชุมชนล้อมรักษ์ CBTx ที่ดำเนินการมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ควบคู่กับหลักศาสนบำบัดตามหลักศาสนาอิสลามขัดเกลาจิตใจ ผ่าน 5 ขั้นตอน ค้นหา คัดแยก บำบัด ติดตามและสร้างอาชีพ ตั้งแต่ปี 2562-2567 มีผู้เข้าสู่กระบวนการบำบัด มะนังยงโมเดล จำนวน 122 คน

นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นรูปแบบการบําบัดรักษาเชิงบูรณาการโดยเฉพาะต่อผู้ใช้หรือเสพยาเสพติดในชุมชนเพื่อให้เกิดการรักษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การรักษาในระยะเริ่มต้นจนถึงการบําบัดรักษาฟื้นฟูด้วยระบบการดูแลต่อเนื่องและรวมถึงการติดตามผลการรักษาเพื่อคืนผู้ป่วยสู่สังคม โดยมีการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งด้านสุขภาพสังคมและการบริการอื่น ๆ ซึ่งมีความพร้อมความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดบนพื้นฐานของความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ป่วย ตลอดจนให้การสนับสนุนครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยอย่างจริงจังต่อการแก้ปัญหายาเสพติดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในระยะยาว

“แนวคิด เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วยเริ่มมาเมื่อ 20 ปีที่แล้วในต่างประเทศที่ทำควบคู่กับการปราบปราม พบผลลัพธ์คือจำนวนผู้ติดยาเสพติดลดลง ขณะเดียวกันไทยเราเองก็ได้ถอดบทเรียนและนำมาสู่การปรับใช้โดยผลักดันเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้ใช้กลไก พชอ. เป็นแกนหลักในการร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ สำรวจประชาชนในพื้นที่สู่กระบวนการปลายน้ำดึงผู้ที่ใช้ยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษา ซึ่งชุมชนั้นต้องเข้าใจและพร้อมจะช่วยแก้ปัญหาไปด้วยกันถึงจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างมีความสุข เพราะนอกจากช่วยคนติดยาเสพติดให้หลุดพ้นแล้ว ยังสามารถช่วยครอบครัวผู้ติดยาเสพติด้วย โดยจะนำไปสู่กระบวนการควบคุมปัญหายาเสพติดในสู่ชุมชนได้ระยะยาว ” นพ.มล.สมชาย กล่าว

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อํานวยการสํานักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สํานัก 1) สสส. กล่าวว่า กระบวนการของการบําบัดยาเสพติดโดยชุมชนมีส่วนร่วมจะต้องดูบริบทของชุมชนนั้น ๆ เพราะการที่ชุมชนจะสามารถดำเนินการตามแนวทางนี้ให้ประสบความสําเร็จชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันอย่างแท้จริง ผู้นําชุมชนและคณะกรรมการชุมชนมีความมุ่งมั่นตั้งใจต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงพลังความร่วมมือจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) และแรงสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปสู่การระดมสมองกำหนดวิธีการและกิจกรรมให้กับผู้เข้ารับการบำบัดอย่างครอบคลุมทุกมติ

“ขอชื่นชม มะนังยงโมเดลค่ะ ที่มีนวัตกรรมพัฒนารูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังโดย ซึ่ง สสส. เน้นการป้องกันเป็นหลักพฤติกรรมจากเหล้าบุหรี่ ซึ่งหากสภาพแวดล้อมชุมชนยังพบผู้ใช้สารเสพติดในครอบครัว ชุมชน ก็อาจทำให้มีการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้น เราจึงเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการขับเคลื่อน CBTx ร่วมกับ พชอ. แก้ไขปัญหายเสพติดและเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งในครอบครัวและชุมชน เปลี่ยนคนหลงทางให้กลับมาอยู่ในสังคมที่พร้อมโอบรับพวกเขา ซึ่งชุมชนไหนสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ก็จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องเหล้าบุหรี่ได้เช่นกันค่ะ ” นางสาวรุ่งอรุณ กล่าว

นายอาฟีซี ตอเลาะ ปลัดอำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี กล่าวว่า ขั้นตอนการดำเนินการโดยกระบวนการชุมชนล้อมรักษ์ เราทำมา 5-6 ปี เริ่มต้นจากการค้นหา 3 วิธี ทั้งค้นหาพื้นที่แหล่งมั่วสุม เช่น ในป่าละเมาะและหมูบ้านร้าง ขณะเดียวกันฝ่ายปกครองตั้งด่านตรวจในหมู่บ้านตามถนนสายรองช่วงยามวิกาล และสุดท้ายผู้ปกครองนำลูกหลานเข้าสู่กระบวนการบำบัดด้วยตนเอง จากนั้นจึงมีการคัดกรองเพื่อประเมินการบำบัดฟื้นฟู และนำไปสู่การบันทึกข้อตกลงกับผู้ปกครองของผู้บำบัดที่เข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจเป็นระยะเวลา 50 วัน ผ่านคณะกรรมสภาประชาธิปไตยตำบล โดยจะมีการติดตามผลทุก ๆ 5 วันและทำการตรวจปัสสาวะ 10 ครั้ง เมื่อผู้บำบัดได้รับการพิจารณาว่าจิตใจเข้มแข็งและก้าวพ้นจากยาเพสติดอย่างแน่ชัดแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการอบรมฝึกอาชีพ จากเจ้าหน้าที่โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี

“กระบวนการสร้างอาชีพเป็นกระบวนการที่สำคัญซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดว่าเขาจะเข้าไปสู่วังวนเดิมหรือไม่ เพราะถ้าเขามีงานทำเขาจะเลิกใช้ยาเสพติด ดังนั้นการฝึกอาชีพต้องเป็นการฝึกให้เด็กชำนาญและทำงานได้จริง ซึ่งขณะนี้เปิดฝึกอบรมการเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ช่างแอร์ โดยมีระยะเวลาการฝึกฝนฝีมือ 3 เดือน และส่วนใหญ่จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการทำงานจากผู้ว่าจ้างในพื้นที่ด้วย” นายอาฟีซี กล่าว

นายกามารูดิง มูซอ กำนันตำบลมะนังยง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กล่าวว่า หมู่บ้านเราไม่ได้ผลิตยาเสพติดแต่กลับพบว่ามีคนในชุมชนเยาวชนใช้หรือเสพยาเสพติด จึงแก้ปัญหาผ่านแนวคิด “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย เปลี่ยนผู้ป่วยคืนสู่สังคม” ควบคู่กับการใช้หลักศาสนบำบัด ตามหลักศาสนาอิสลามขัดเกลาฟื้นฟูสภาพจิตใจซึ่งพบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีผู้ใช้หรือเสพยาเสพติดเลิกขาด ซึ่งการจะขับเคลื่อนแนวคิดนี้ได้ต้องใช้พลังผู้นำชุมชนและคนในชุมชนสานพลังผ่านมติหมู่บ้านตกลงทำความเข้าใจให้เห็นตรงกันเกี่ยวกับกระบวนการชุมชนล้อมรักษ์ จึงทำให้เราสามารถเดินหน้ามาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 6 ซึ่งถือเป็นการให้โอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับเยาวชนและคนในชุมชนที่หลงผิดให้ได้ชีวิตใหม่อีกครั้ง

Recent Posts

Categories

Related Articles

เปิดผลดวลแข้ง ศึก SDN FUTSAL NO – L 2025 เยาวชน U15 โซน กทม. “มัธยมวัดเบญฯ” ถล่ม “ราชวินิตบางเขน” 4-0 เข้าไปรอชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานฯ รอบประเทศไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า, กรมพละศึกษา และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการแข่งขันโครงการ SDN FUTSAL NO –...

กระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงานซีพีแรม (สุราษฎร์ธานี) แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารยั่งยืน ยกระดับขีดความสามารถด้วยนวัตกรรมอาหารสู่การเป็นศูนย์กลางอาหารของโลก

คุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยผู้บริหาร บริษัท ซีพีแรม จำกัด ให้การต้อนรับ คุณเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม...

แคนนอน ชวนค้นพบความหมายของชีวิตและการก้าวข้ามขีดจำกัดผ่านภาพยนตร์สารคดีฝีมือคนไทย“Turning Point” โดย “คุณเฟิสท์” นักเดินทางเจ้าของเพจดัง “Path to Odyssey”

ในโลกของการเดินทางมีนักเล่าเรื่องมากมายที่พยายามถ่ายทอดความงดงามของโลกใบนี้ผ่านเลนส์กล้อง แต่มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนลุกขึ้นมาท้าทายขีดจำกัดของตัวเอง หนึ่งในนั้นคือ คุณเฟิสท์-วิริทธิพล วิธานเดชสิทธิ์ เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก Path to Odyssey ช่างภาพสารคดีผู้คว้ารางวัลจาก National Geographic...

มองไม่ชัด ตาขุ่นมัว เสี่ยง “โรคต้อกระจก” แพทย์ รพ.วิมุต เผย อายุเยอะเสี่ยงเป็น รีบป้องกันก่อนสูญเสียการมองเห็น

ในกลุ่มโรคต้อที่เกิดกับดวงตาของเรา “โรคต้อกระจก” ถือว่าพบได้บ่อยที่สุด และจริง ๆ แล้วโรคนี้ไม่ได้พบแค่ในผู้สูงอายุ เพราะคนอายุน้อยก็เป็นโรคนี้ได้จากปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัวที่เราอาจไม่รู้มาก่อน เช่น รังสี UV, การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาบางประเภท...