Hotline 083-411-9393
Friday , 22 November 2024
Home Lifestyle วิศวะฯ มหิดล ร่วมมือดาสท์บลู เปิดแล็ปทดสอบเคมีกำจัดไอเสีย AdBlue® รับมาตรฐาน EURO5 ลดก๊าซพิษ และ PM2.5 รักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมโลก ได้จริง พร้อมใช้ทั่วไทย
Lifestyle

วิศวะฯ มหิดล ร่วมมือดาสท์บลู เปิดแล็ปทดสอบเคมีกำจัดไอเสีย AdBlue® รับมาตรฐาน EURO5 ลดก๊าซพิษ และ PM2.5 รักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมโลก ได้จริง พร้อมใช้ทั่วไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือครั้งสำคัญกับ บริษัท ดาสท์บลู จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เคมีภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม  AdBlue®  by DasBlue น้ำยาบำบัดไอเสียสำหรับรถยนต์  รถบรรทุกและเครื่องยนต์ดีเซลที่ผ่านมาตรฐานไอเสียระดับสูง EURO5/6/7 มลพิษต่ำ และถูกติดตั้งระบบบำบัดไอเสียจากโรงงานผู้ผลิต AdBlue®  ทำหน้าที่แปลง NOx (ไนโตรเจนออกไซด์) ในไอเสียที่ออกจากเครื่องยนต์ดีเซลให้กลายเป็นไนโตรเจนและไอน้ำซึ่งNOx เป็นสาเหตุของการปนเปื้อนก๊าซพิษสู่ชั้นบรรยากาศของโลกและเป็นสาเหตุการก่อให้เกิดหมอกพิษปกคลุมใน เมืองใหญ่ทั่วโลก รวมถึงกรุงเทพมหานคร ทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคหอบหืดและภูมิแพ้ ซึ่งการร่วมมือครั้งสำคัญนี้ เป็นการทดสอบสารเคมีกำจัดไอเสีย AdBlue®  ที่ผลิตในประเทศไทย โดย DasBlue ให้ผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนดISO22241เพื่อยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ต่อนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สำหรับ อุตสาหกรรมยานยนต์ รักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อมต่อโลก พร้อมใช้ทั่วไทย  

โดยความร่วมมือในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธนภัทร์  วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.วนิดา  คูอมรพัฒนะ หัวหน้าวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกิติธัช มนตรีโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาสท์บลู จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

นอกจากนี้ทางคณะฯ ได้มีการเปิดให้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัย ESPReL ที่ใช้ในการทดสอบสารเคมีบำบัดไอเสียเพื่อแสดงคุณภาพของน้ำยาเคมี AdBlue ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดย บริษัท ดาสท์บลู จำกัด และทำการทดสอบคุณภาพโดยภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมมีการจัดเสวนาถึงความจำเป็นในการใช้รถใช้ถนนรวมถึงความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพอากาศในเมืองหลวง  โดยมีผู้ดำเนินรายการ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน พิธีกร ผู้ประกาศ ​Content Creator ชื่อดัง เพื่อสร้างการตระหนักรู้ต่อประชาชนทั่วไปให้เข้าใจถึงนโยบายการบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 

สำหรับรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล และรถยนต์ขนาดใหญ่ ได้แก่ รถกระบะ รถบัส และรถบรรทุก ทั้งที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เริ่มประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งทำให้รถที่มีเครื่องยนต์ดีเซล จดทะเบียนใหม่ต้องผ่านมาตรฐานไอเสีย EURO5 ซึ่งสารเคมีกำจัดไอเสีย เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่ทำให้การบังคับใช้ EURO5 มีประสิทธิภาพในการกำจัดไอเสีย และ บริษัท ดาสท์บลู จำกัด คือ โรงงานผลิตแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้ผ่านมาตรฐาน ISO22241 ทดแทนการนำเข้าจากยุโรป

นาย กิติธัช มนตรีโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาสท์บลู จำกัด เผยว่า “ มาตรฐานยูโร หรือ EURO ที่เป็นการควบคุมมลพิษจากสหภาพในยุโรปที่ได้มีการวางมาตรการในการควบคุมมลพิษตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 โดยนับเป็น มาตรฐานยูโร 1 (EURO 1) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งมีการควบคุมยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้มีการเผาไหม้ ไม่ให้มีมลพิษเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด และมีมาตรฐานการควบคุมที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ผลิตทั่วโลกได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์ให้ปล่อยมลพิษออกมาน้อยที่สุด มีการแบ่งออกเป็นประเภท และขนาดของเครื่องยนต์ จนมีการพัฒนาเครื่องยนต์มาอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นฐานได้มีการวัดสารเคมีต่างๆ  ดังนี้

คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) , สารไฮโดรคาร์บอน (HC) , สารไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ,สารมลพิษอนุภาคและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) โดยมาตรฐานยูโร 5 ที่มีการบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567, เครื่องยนต์ดีเซลยูโร 5 คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ต้องไม่เกิน 0.5 กรัม/กม. ,สารไฮโดรคาร์บอน และ สารไนโตรเจนออกไซด์ (HC+NOx) ต้องไม่เกิน 0.23 กรัม/กม. ,สารไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ต้องไม่เกิน 0.18 กรัม/กม. , สารมลพิษอนุภาคและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ต้องไม่เกิน 0.005 กรัม/กม. เป็นต้น


ทั้งนี้มาตรฐานยูโร5(EURO5)เพิ่มความเข้มงวดของการปล่อยฝุ่นละอองจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็น อย่างมาก โดยรถยนต์ดีเซลทุกคันต้องติดตั้งตัวกรองฝุ่นละออง ส่วนข้อจำกัด NOx ก็เข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน (โดยต้องลดลง 28% เมื่อเทียบกับ EURO 4) และเป็นครั้งแรกที่มีการจำกัดปริมาณฝุ่นละออง ซึ่งการกำหนดค่ามาตรฐานไอเสีย (มาตรฐานยูโร)ที่สูงขึ้นจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและการช่วยลดการปล่อยมลพิษในอากาศ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่สามารถตอบสนองความต้องการและช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ในที่สุด นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มในการบังคับใช้มาตรฐานยูโร 6 (EURO 6) ในอนาคตอันใกล้นี้

การจัดงานในครั้งนี้จึงนับเป็นความสำเร็จของ บริษัท ดาสท์บลู จำกัด ในการเป็นทั้งผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่าย เคมีภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม  AdBlue®  by DasBlue น้ำยาบำบัดไอเสียสำหรับรถยนต์ รถบรรทุกและเครื่องยนต์ดีเซลที่ผ่านมาตรฐานไอเสียระดับสูง EURO5/6/7 มลพิษต่ำ ซึ่งในวันนี้ทางบริษัทได้ร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทดสอบเคมีบำบัดไอเสีย AdBlue® รองรับมาตรฐานไอเสีย EURO5 ต่อสื่อมวลชนและผู้สนใจ AdBlue® เป็นสารเคมีที่ใช้ในการฉีดในระบบไอเสีย เพื่อกำจัดก๊าซพิษ NOx ซึ่งทำลายระบบทางเดินหายใจ และเป็นสาเหตุหนึ่งของการกำเนิด PM2.5 นอกจากนี้ ระบบ DPF ยังช่วยกำจัด เขม่าควันดำ ซึ่งจะทำให้ท้องถนนไทยสะอาด ปลอดเขม่าดำที่ลอยอยู่ในอากาศที่เราหายใจอีกด้วย”

Recent Posts

Categories

Related Articles

DPU คณะการท่องเที่ยวฯ สุดปัง! ยอด นศ.ใหม่เพิ่มกว่า 20% สาขาการโรงแรมรั้งที่ 1  ตามด้วย การท่องเที่ยวและศิลปะการประกอบอาหาร

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มุ่งเน้นเสริมทักษะการเพิ่มการบริการมูลค่าสูง (High Value Added  Services) ในทุกหลักสูตร โดยเฉพาะสาขาการโรงแรมที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 หวังเตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่การเป็นบุคลากรคุณภาพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมระดับสูง...

แคนนอนบุกตลาดงานบรอดคาสต์และโปรดักชันระดับมืออาชีพ ยกทัพกลุ่มผลิตภัณฑ์ Professional VDO Broadcasting พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ กล้องถ่ายภาพยนตร์ EOS C400 และ EOS C80 เสริมไลน์อัปด้วยเลนส์ซิเนม่า CN7x17 เขย่าวงการกล้องถ่ายภาพยนตร์ไทย

แคนนอน แบรนด์ผู้นำด้านเทคโนโลยีอิมเมจจิ้งระดับโลกประกาศก้าวสำคัญเขย่าวงการ บรอดคาสต์และโปรดักชันระดับมืออาชีพไทย จัดงานใหญ่ส่งท้ายปี 2567 “Canon Broadcast and Production World 2024 –...

แอร์บัสคาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวน 19,500 ลำ ภายในปี 2586

แอร์บัสได้เผยแพร่การคาดการณ์ตลาดระดับภูมิภาคครั้งล่าสุด โดยประเมินว่าภาคการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวน 19,500 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งคิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการเครื่องบินทั่วโลก โดยคาดว่าความต้องการเครื่องบินใหม่ทั้งหมดทั่วโลกจะมีประมาณ 42,430 ลำ ภายในปี 2586 นายอานันท์ สแตนลีย์ (Anand Stanley) ประธานแอร์บัสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เปิดเผยข้อมูลและการคาดการณ์ดังกล่าวระหว่างการประชุมประจำปีของประธานสมาคมสายการบินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Association of Asia-Pacific...

‘ความเครียด’ ภัยเงียบกระตุ้นโรคเบาหวาน! วงจรอันตรายที่วัยรุ่น-วัยทำงานควรระวัง

ความเครียดกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานที่ต้องรับมือกับความเร่งรีบและแรงกดดันมากมาย หลายคนเลือกจัดการความเครียดด้วยการกินของหวาน เช่น ชานม ช็อกโกแลต โดนัท เพราะรสชาติอร่อย กินแล้วรู้สึกดี เยียวยาจิตใจ แต่การคลายเครียดด้วยของหวานบ่อย ๆ...