Hotline 083-411-9393
Sunday , 24 November 2024
Home แอร์บัส

แอร์บัส

Lifestyle

แอร์บัสคาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวน 19,500 ลำ ภายในปี 2586

แอร์บัสได้เผยแพร่การคาดการณ์ตลาดระดับภูมิภาคครั้งล่าสุด โดยประเมินว่าภาคการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวน 19,500 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งคิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการเครื่องบินทั่วโลก โดยคาดว่าความต้องการเครื่องบินใหม่ทั้งหมดทั่วโลกจะมีประมาณ 42,430 ลำ ภายในปี 2586 นายอานันท์ สแตนลีย์ (Anand Stanley) ประธานแอร์บัสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เปิดเผยข้อมูลและการคาดการณ์ดังกล่าวระหว่างการประชุมประจำปีของประธานสมาคมสายการบินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Association of Asia-Pacific Airlines: AAPA) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบรูไน โดยได้เน้นย้ำถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความสำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในตลาดการบินโลก การคาดการณ์สำหรับตลาดการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งรวมถึงประเทศจีนและอินเดียนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าความต้องการเครื่องบินใหม่จะเติบโต 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และจะทำให้ฝูงบินในภูมิภาคขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงขับเคลื่อนทั้งจากการเติบโตของตลาดการบินและความต้องการเครื่องบินใหม่มาทดแทนเครื่องเดิม เนื่องจากประเด็นด้านความยั่งยืนได้มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น แอร์บัสคาดการณ์ว่าตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินประเภททางเดินเดียวจำนวน 16,000 ลำ เช่น...

Lifestyle

แอร์บัสคาดการณ์ว่าตลาดบริการด้านอากาศยานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเติบโตเพิ่มขึ้นสองเท่าภายใน 20 ปีข้างหน้า

รายงานการคาดการณ์ด้านบริการทั่วโลก (Global Services Forecast: GSF) ฉบับล่าสุดของแอร์บัสได้ระบุว่า มูลค่าของตลาดบริการเครื่องบินพาณิชย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตมากกว่าสองเท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยมูลค่าจะเพิ่มขึ้นจาก 52,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน เป็น 129,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2586 การเติบโตของตลาดบริการเครื่องบินพาณิชย์ในการคาดการณ์นั้นขับเคลื่อนโดยความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวนประมาณ 19,500 ลำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสนับสนุนด้วยการเติบโตของปริมาณการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศในภูมิภาค ซึ่งมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (Compound Annual Growth Rate: CAGR) อยู่ที่ 4.81 เปอร์เซ็นต์ การเพิ่มขึ้นของปริมาณการจราจรทางอากาศในแต่ละปี ประกอบกับการขยายตัวของฝูงบิน และความต้องการเครื่องบินที่สามารถเชื่อมต่อและใช้งานแบบดิจิทัลมากขึ้น เป็นแรงผลักดันให้ความต้องการบริการในอุตสาหกรรมการบินเติบโตสูงขึ้น ความต้องการนี้ที่เพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตของเครื่องบิน ตั้งแต่การส่งมอบจนถึงการสิ้นสุดอายุการใช้งาน และรวมไปถึงบริการด้านต่าง ๆ เช่น...