Hotline 083-411-9393
Friday , 22 November 2024
Home Lifestyle คณะการท่องเที่ยวฯ DPU จับมือ บสย.จัดงานเสวนา”Start Street Food สู่ธุรกิจ 200 ล้าน” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์“เฮียนพ”จากพ่อค้าขายหมูปิ้งข้างทาง สู่นักธุรกิจร้อยล้าน
Lifestyle

คณะการท่องเที่ยวฯ DPU จับมือ บสย.จัดงานเสวนา”Start Street Food สู่ธุรกิจ 200 ล้าน” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์“เฮียนพ”จากพ่อค้าขายหมูปิ้งข้างทาง สู่นักธุรกิจร้อยล้าน

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ร่วมกับ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(DPU)และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จัดกิจกรรมเสวนาในโครงการ Start Street Food สู่ธุรกิจ 200 ล้าน” โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์วสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม DPU เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ภายในงานมีการจัดเสวนาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ยังเรียนไม่จบให้แก่นักศึกษา โดยมีนายเทียบจิตต์ จันทรภูติผลากร ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs(บสย. FA. Center) และ นายชวพจน์ ชูหิรัญ (เฮียนพ หมูนุ่ม) เจ้าของธุรกิจหมูปิ้ง Street Food ร่วมเป็นวิทยากร นอกจากนี้มีการออกร้านจากหน่วยงานต่างๆ และจากนักศึกษาหลายคณะ มีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การสาธิตการย่างหมูปิ้ง ดนตรีโฟล์คซอง และลุ้นไข่ลุ้นโชค ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  

อาจารย์วสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้ จัดขึ้นเพื่อเพิ่มทักษะและปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจาก บสย. มาให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทสำคัญในการสนับสนุน SMEs และเชิญผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบความสำเร็จ มาให้ความรู้และแบ่งปันแนวทางการสร้างธุรกิจขนาดเล็กให้เติบโตจนเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างประสบการณ์นักศึกษา ด้วยการจัดพื้นที่ให้นักศึกษาได้ทดลองประกอบธุรกิจจริง ภายในงานยังได้เชิญนักศึกษาจากวิทยาลัย CIBA และสายงานกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมงานเสวนา

“ในยุคปัจจุบัน การทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยช่องทางและแพลตฟอร์มต่างๆ เอื้อให้ทุกคนสามารถสร้างธุรกิจของตนเองได้ง่ายขึ้น ทางคณะฯ จึงส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าใจหลักการดำเนินธุรกิจและรู้จักเครื่องมือสนับสนุนทางธุรกิจที่สำคัญ เช่น บสย. ซึ่งให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจขนาดย่อมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นธุรกิจอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบต่อธุรกิจ เราเชื่อว่าหากนักศึกษาเข้าใจการดำเนินธุรกิจและรู้จักแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงได้ จะสามารถนำความรู้ไปต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ในอนาคต”อาจารย์วสุกานต์ กล่าว

นายเทียบจิตต์ จันทรภูติผลากร ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. FA. Center) กล่าวว่า บสย.เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุน SMEs ของประเทศไทย โดยมีบทบาทหลักในการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ปัจจุบัน บสย. ได้รับการจัดสรรวงเงินจำนวน 50,000 ล้านบาทจากรัฐบาล เพื่อดำเนินโครงการ IGNITE THAILAND เป็นการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการใน 8 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ การท่องเที่ยว การแพทย์และสุขภาพ อุตสาหกรรมอาหาร การบิน การขนส่งระดับภูมิภาค อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต เศรษฐกิจดิจิทัล และภาคการเงิน โครงการนี้ถือเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

“สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีความสนใจในการเริ่มต้นธุรกิจ บสย. มีข้อแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการทดลองทำแผนธุรกิจที่รอบคอบและดำเนินกิจการขนาดเล็กก่อน เพื่อพิสูจน์ศักยภาพและความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ก่อนที่จะพิจารณาการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้เทคนิคการขอสินเชื่อให้ผ่าน สำหรับกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการจัดทำงบการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงสภาพการดำเนินธุรกิจที่แท้จริงและมีศักยภาพในการเติบโต ส่วนผู้ประกอบการรายใหม่ควรให้ความสำคัญด้านการจัดทำบัญชีและเอกสารทางการเงินอย่างเป็นระบบ จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างรายได้และชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ”

นายชวพจน์ ชูหิรัญ (เฮียนพ หมูนุ่ม) เจ้าของธุรกิจหมูปิ้ง Street Food กล่าวว่า ได้เริ่มทำธุรกิจขายหมูปิ้งหลังตกงานช่วงฟองสบู่แตกในปี 2540 และเริ่มขายดีในช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ขณะนั้นไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง จึงเริ่มไปขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทำให้คำนวณต้นทุนการผลิตเป็น ทำให้จัดการกับวัตถุดิบได้ดีขึ้น ขณะนั้นเน้นขายให้ลูกค้าทั่วไป และเริ่มมีตัวแทนจำหน่าย ต่อมาธุรกิจเริ่มเติบโตและมีชื่อเสียงในปี 2558-2559 มีห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งติดต่อให้นำสินค้าไปลงขาย แต่ต้องสร้างมาตรฐานของสินค้าให้ได้ก่อน จึงมีการปรับโครงสร้างโรงงานการผลิต เพื่อเตรียมความพร้อมในการสต๊อกสินค้าล็อตใหญ่ ช่วงนั้นเริ่มประสบปัญหาด้านการเงิน จึงขอสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME Bank) โดยผ่านการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ทำให้ได้เงินทุนก้อนแรกจากธนาคารเพื่อนำมาหมุนเวียนในธุรกิจ ส่งผลให้สามารถขยายธุรกิจเข้าสู่โมเดิร์นเทรดและปิดยอดขายได้หลักร้อยล้านต่อปีในช่วงนั้น

“สิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ไม่ไปรอด คือ การลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ การไม่มีความรู้ด้านการบริหารจัดการต้นทุนและผลกำไร การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ  และไม่มีการพัฒนาตนเองให้ทันเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ดังนั้น จึงอยากแนะนำน้องๆที่สนใจเริ่มต้นธุรกิจ อยากให้เน้นการสร้างยอดขายในช่วงแรก เพราะจะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และรักษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าความสำเร็จอาจต้องใช้เวลา แต่การเตรียมความพร้อมและสั่งสมประสบการณ์ จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในอนาคต อย่างไรก็ตามต้นทุนทางความคิด เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจในช่วงแรก การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและการวางแผนอย่างรอบคอบจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จ”เฮียนพ กล่าว

Recent Posts

Categories

Related Articles

DPU คณะการท่องเที่ยวฯ สุดปัง! ยอด นศ.ใหม่เพิ่มกว่า 20% สาขาการโรงแรมรั้งที่ 1  ตามด้วย การท่องเที่ยวและศิลปะการประกอบอาหาร

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มุ่งเน้นเสริมทักษะการเพิ่มการบริการมูลค่าสูง (High Value Added  Services) ในทุกหลักสูตร โดยเฉพาะสาขาการโรงแรมที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 หวังเตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่การเป็นบุคลากรคุณภาพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมระดับสูง...

แคนนอนบุกตลาดงานบรอดคาสต์และโปรดักชันระดับมืออาชีพ ยกทัพกลุ่มผลิตภัณฑ์ Professional VDO Broadcasting พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ กล้องถ่ายภาพยนตร์ EOS C400 และ EOS C80 เสริมไลน์อัปด้วยเลนส์ซิเนม่า CN7x17 เขย่าวงการกล้องถ่ายภาพยนตร์ไทย

แคนนอน แบรนด์ผู้นำด้านเทคโนโลยีอิมเมจจิ้งระดับโลกประกาศก้าวสำคัญเขย่าวงการ บรอดคาสต์และโปรดักชันระดับมืออาชีพไทย จัดงานใหญ่ส่งท้ายปี 2567 “Canon Broadcast and Production World 2024 –...

แอร์บัสคาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวน 19,500 ลำ ภายในปี 2586

แอร์บัสได้เผยแพร่การคาดการณ์ตลาดระดับภูมิภาคครั้งล่าสุด โดยประเมินว่าภาคการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินใหม่จำนวน 19,500 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งคิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการเครื่องบินทั่วโลก โดยคาดว่าความต้องการเครื่องบินใหม่ทั้งหมดทั่วโลกจะมีประมาณ 42,430 ลำ ภายในปี 2586 นายอานันท์ สแตนลีย์ (Anand Stanley) ประธานแอร์บัสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เปิดเผยข้อมูลและการคาดการณ์ดังกล่าวระหว่างการประชุมประจำปีของประธานสมาคมสายการบินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Association of Asia-Pacific...

‘ความเครียด’ ภัยเงียบกระตุ้นโรคเบาหวาน! วงจรอันตรายที่วัยรุ่น-วัยทำงานควรระวัง

ความเครียดกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานที่ต้องรับมือกับความเร่งรีบและแรงกดดันมากมาย หลายคนเลือกจัดการความเครียดด้วยการกินของหวาน เช่น ชานม ช็อกโกแลต โดนัท เพราะรสชาติอร่อย กินแล้วรู้สึกดี เยียวยาจิตใจ แต่การคลายเครียดด้วยของหวานบ่อย ๆ...